Scientific study on elephants in tourist camps in Thailand.

Congratulations to Dr. Pakkanut Bansiddhi, Dr. Janine Brown Dr. Chatchote Thitaram et al. for publishing the excellent article entitled “Management factors affecting adrenal glucocorticoid activity of tourist camp elephants in Thailand and implications for elephant welfare” in PLoS ONE 14(10): e0221537. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0221537

This study compared fecal glucocorticoid hormone (stress hormone) to types of work or tourist activities:
1) riding with a saddle
2) riding bareback
3) no riding, but some tourist interactions
4) elephant shows
5) observation

We also look at other welfare parameters e.g. stereotypic behaviors, body condition score, wound score and foot score.

The results showed that
1. Elephants in the observation only program had higher stress hormone levels (fecal glucocorticoid metabolites: FGM) compared to elephants that participated in other types of work. The elephant in the observation program might get higher stress hormone from being bored, lack of exercise, and scared of attacks by other elephants.
2. Longer durations of work and longer distance and time of walking were associated with lower stress hormone.
3. Elephants kept in open areas during the day had lower stress hormone than those restrained in sheds.
4. Elephants that were kept in the forest and under a tree at night had lower stress hormone as compared to elephants that were kept in shed structures.
5. Elephants with a body condition score of 5 (obese) had higher stress hormone than those with a body condition score of 3 (ideal/normal).
6. Elephants with major wounds had higher stress hormone than elephants with no visible wounds.

ขอแสดงความยินดีกับ อ.สพ.ญ.ดร. ภัคนุช บันสิทธิ์ ดร.เจนีน บราวน์ รศ.น.สพ.ดร. ฉัตรโชติ ทิตาราม และทีม ที่ได้ตีพิมพ์ผลงานอันยอดเยี่ยมเรื่อง “Management factors affecting adrenal glucocorticoid activity of tourist camp elephants in Thailand and implications for elephant welfare” ในวารสารวิชาการนานาชาติ PLoS ONE 14(10): e0221537. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0221537

งานวิจัยนี้เป็นการเปรียบเทียบฮอร์โมนความเครียดกับปัจจัยในด้านการจัดการและกิจกรรมภายในปางช้าง เช่น
1) การขี่ช้างใส่แหย่ง
2) การขี่ช้างบนหลังเปล่า
3) การไม่ขี่ช้าง แต่มีกิจกรรมอย่างอื่น เช่น เดินไปกับช้าง
4) การแสดงของช้าง
5) การสังเกตพฤติกรรมเพียงอย่างเดียว

รวมทั้งค่าดัชนีทางสวัสดิภาพสัตว์อีหลายประการ (เช่น พฤติกรรมการทำซ้ำๆ คะแนนความสมบูรณ์ของร่างกาย คะแนนเท้า แผลตามร่างกาย)

ผลการวิจัยพบว่า
1. ช้างที่มีการจัดการและกิจกรรมการท่องเที่ยวแบบที่ 5 คือ การไม่ขี่ช้างโดยการสังเกตพฤติกรรมเพียงอย่างเดียว มีระดับฮอร์โมนความเครียดสูงที่สุด ซึ่งอาจจะมาจาก การที่ช้างไม่ได้ออกกำลังกาย ยืนและกินเพียงอย่างเดียว รวมทั้งต้องคอยระวังารทำร้ายจากช้างอื่นด้วย
2. ช้างที่มีระยะเวลาการทำงานที่นานกว่า และ เดินไกลกว่า จะมีระดับฮอร์โมนความเครียดน้อยกว่า
3. ช้างที่อยู่ในที่โล่งแจ้งในช่วงเวลากลางวัน มีระดับฮอร์โมนความเครียดน้อยกว่าช้างที่อยูในโรงในที่ร่ม
4. ช้างที่อยู่ในป่าหรือใต้ต้นไม้ในช่วงเวลากลางคืน มีระดับฮอร์โมนความเครียดน้อยกว่าช้างที่อยูในโรงในที่ร่มมีหลังคา
5. ช้างที่มีคะแนนร่างกาย เท่ากับ 5 (อ้วน) มีระดับฮอร์โมนความเครียดสูงกว่าช้างทีมีคะแนนร่างกาย 3 (พอดี)
6. ช้างที่มีแผลหลักหรือขนาดใหญ่ตามร่างกาย มีระดับฮอร์โมนความเครียดสูงกว่าช้างที่ไม่มีแผลตามร่างกาย
7. ช้างที่แสดงลักษณะพฤติกรรมซ้ำ (stereotypic behaviors) เช่น โยกไปมา มีระดับฮอร์โมนความเครียดต่ำกว่าช้างที่ไม่แสดงอาการดังกล่าว ซึ่งอาจจะมาจากการลดความเบื่อไม่มีอะไรทำด้วยการโยก เหมือนคนที่นั่งสั่นขาโดยไม่รู้ตัว พอทักก็หยุด ลักษณะพฤติกรรมดังกล่าวเกิดในสัตว์อื่นเช่นกันและมีระดับฮอร์โมนความเครียดต่ำกว่าเช่นกัน